เทคนิคการออมเงิน
0 0
Read Time:4 Minute, 51 Second

เทคนิคการออมเงิน ด้วยการหลอกล่อตัวเองด้วยหลักการทางจิตวิทยา ซึ่งมีผลการศึกษาวิจัยรองรับแล้วนะว่าได้ผล

ารออมเงินอาจดูเหมือนเรื่องที่ตรงไปตรงมา แต่การได้เห็นอัตราการเติบโตของการออมเงินที่ลดลงในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาของบ้านเรา โดยในปี 2556 ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลล่าสุดพบว่า การออมของประเทศเมื่อเทียบกับสัดส่วนต่อจีดีพี เหลือร้อยละ 28.28 ซึ่งเป็นอันดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี ก็ทำให้เริ่มรู้สึกได้ว่า การพูดนั้นง่ายกว่าการทำ 

อย่างไรก็ตาม แจ็คแกตต์ เอ็ม ทิมมอนส์ นักพฤติกรรมศาสตร์ทางด้านการเงิน และผู้เขียนหนังสือเรื่อง Financial Intimacy ชี้ว่า คนเราชอบคิดว่าตัวเองเป็นพวกที่มีเหตุมีผลในเรื่องของการเงิน แต่จริงๆ แล้ว การตัดสินใจของเราถูกกระตุ้นจากปัจจัยทางจิตวิทยาและทางอารมณ์มากกว่า ฉะนั้น บางทีแล้วการจะออมเงินได้ อาจต้องใช้จิตวิทยาและอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล และนี่คือเทคนิคการออมเงินที่พิสูจน์จากการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า สามารถหลอกล่อให้ตัวเองออมเงินได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ

1 ใส่ใจในเหตุผลที่คุณอยากออมเงิน มากกว่าแค่วิธีการ

ถ้าคุณอยากเก็บเงินได้มากขึ้น การหาหนทางที่จะทำตามเป้าหมายให้ได้ฟังดูเป็นเรื่องฉลาดใช่มั้ย แต่การศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Consumer Research ต่อต้านความคิดแบบนี้ เพราะพบว่าคนที่หาเหตุผลต่างๆ ว่าทำไมพวกเขาถึงอยากจะกันเงินเก็บเอาไว้ (เพื่อจะได้ไปท่องซาฟารี หรือเพื่อซื้อบ้านใหม่ หรือรีไทร์แบบสบายๆ) เก็บเงินได้มากกว่า คนอื่นที่เน้นเรื่องเทคนิคในการตัดลดค่าใช้จ่าย เช่น ช้อปปิ้งให้บ่อยน้อยลง

เพราะคนที่มัวแต่ยึดติดอยู่กับกลยุทธ์บางอย่างในการลดค่าใช้จ่าย มักมองไม่เห็นโอกาสในการออมที่อยู่นอกเหนือแผนการของตัวเอง (เช่น การเลือกอาหารราคาถูกกว่า หรือเลือกใช้รถสาธารณะเพื่อประหยัดเงินค่าน้ำมัน) พวกเขาก็จะไม่ค่อยฉกฉวยประโยชน์จากสิ่งนั้น แต่การออมเงินจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า เมื่อคนเราเปิดใจเอาไว้ และเตือนตัวเองว่าทำไมพวกเขาถึงอยากเก็บเงินให้ได้ และพวกเขาก็จะฉกฉวยทุกโอกาสที่จะทำให้ตัวเองออมเงินได้มากกว่า

2 สร้างอำนาจให้ตัวเอง

ยิ่งคุณรู้สึกว่าตัวเองมีพลังอำนาจมากแค่ไหน ก่อนที่จะตัดสินใจในเรื่องการเงิน คุณก็จะเก็บเงินได้มากกว่า นี่เป็นผลจากการวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ก่อนนั่งลงคุยกับที่ปรึกษาทางการเงินของคุณ หรือมุ่งหน้าไปช้อปปิ้ง ลองคิดไปถึงช่วงเวลาดีๆ ในชีวิตของตัวเอง อาจเป็นเรื่องการขอเงินเดือนขึ้นได้สำเร็จ หรือการได้เลื่อนตำแหน่ง โดยผู้เขียนงานวิจัยสรุปว่า คนที่รู้สึกว่ามีอำนาจ จะใช้การออมเงินเป็นหนทางในการรักษาสถานะของการมีอำนาจเอาไว้ให้ได้

เทคนิคการออมเงิน

3 เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร

แทนที่จะแค่คิดถึงเป้าหมายการเก็บเงิน เขียนมันออกมา งานวิจับโดย ดร.เกล แมทธิวส์ จากมหาวิทยาลัยโดมินิกันพบว่า คนที่เขียนเป้าหมายของตัวเองเอาไว้ประสบความสำเร็จมากกว่าอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับคนที่แค่ครุ่นคิดคำนึงเรื่องนี้เอาไว้ในใจ โดย 61 เปอร์เซ็นต์ของ “นักเขียน” ประสบความสำเร็จในเป้าหมายของตัวเอง เมื่อเทียบกับ 43 เปอร์เซ็นต์ของ “นักคิด”

จากนั้น ตามรอยความก้าวหน้าของคุณด้วยการใช้โปรแกรมการทำบัญชีเข้ามาช่วย เพราะถ้าคุณไม่ได้เห็นหรือสัมผัสเงินที่คุณลงทุนได้อย่างแท้จริง มันก็จะดูไม่มีตัวตน แต่การได้มองเห็นว่าการออมของคุณสูงขึ้น จะส่งสัญญาณไปยังสมองว่า การกระทำของคุณกำลังส่งผลอย่างแท้จริง ที่จะทำให้แรงผลักดันที่จะออมเงินของคุณเข้มแข็งขึ้น

4 ทำให้การออมเงินมีความสุข

การประหยัด การตัดลดรายจ่าย ไม่มีอะไรฟังเป็นเรื่องสนุกเลยใช่มั้ย เรามักเอาเรื่องการออมเงินไปสัมพันธ์กับความอดอยาก ที่ทำให้ต้องบอกผ่านสิ่งที่เราชอบ และนั่นไม่ให้แรงกระตุ้นเรามากพอที่จะทำตาม ฉะนั้น พยายามทำให้กระบวนการอันน่าห่อเหี่ยวนี้ เป็นสิ่งที่น่ารื่นรมย์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และคุณจะถูกกระตุ้นให้เก็บเงินมากขึ้น

เริ่มด้วยการสร้างพิธีกรรมประจำเดือน ในการประเมินการออมเงินของตัวเองที่คุณจะเฝ้ารอ เช่น การจุดเทียนหอมและดื่มชา ขณะนั่งรีวิวรายการออมเงินของตัวเอง จากนั้น ก็ให้รางวัลตัวเองแต่ละครั้งที่คุณเก็บเงินได้ตามเป้าหมาย อย่ามองว่าเราอยู่ไกลจากเป้าหมายของตัวเองแค่ไหน แต่ควรให้เครดิตตัวเองในสิ่งที่ตัวเองทำได้ด้วย ฉลองความสำเร็จของตัวเองในแต่ละจุดที่ตั้งไว้ แน่นอนว่ามันไม่ควรเป็นการช้อปปิ้งที่ควบคุมไม่ได้ แต่ควรเป็นรางวัลที่จำนวนการใช้เงินที่ควบคุมได้ เช่น การไปสปา การทำเล็บ ดูหนังกับเพื่อน หรือไวน์สักขวดตอนดินเนอร์ การเพิ่มพลังเช่นนี้ทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะยึดติดกับเป้าหมายการออมของคุณมากกว่า

เรามักเอาเรื่องการออมเงินไปสัมพันธ์กับความอดอยาก ที่ทำให้ต้องบอกผ่านสิ่งที่เราชอบ และนั่นไม่ให้แรงกระตุ้นเรามากพอที่จะทำตาม ฉะนั้น พยายามทำให้กระบวนการอันน่าห่อเหี่ยวนี้ เป็นสิ่งที่น่ารื่นรมย์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และคุณจะถูกกระตุ้นให้เก็บเงินมากขึ้น

5 จำกัดเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง

ไม่ว่าจะเค้กช็อกโกแลต เครื่องประดับ หรือแม้แต่เป้าหมายการออมเงิน คุณสามารถมีสิ่งดีๆ ที่มากเกินไปได้ จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยโตรอนโต คนที่มีเป้าหมายการออมเพียงหนึ่งอย่างสามารถทำได้ดีกว่าในการเก็บเงิน เมื่อเทียบกับคนที่มีเป้าหมายหลายอย่าง โดย ดร.มิน เชา ผู้ร่วมเขียนงานวิจัยบอกว่า ถ้าคุณมีเป้าหมายเพียงอย่างเดียว มันจะทำให้คุณมีใจที่มุ่งมั่นกับการลงมือทำมากกว่า และช่วยให้เก็บเงินได้มากกว่า การมีเป้าหมายที่ต้องคิดถึงมากเกินไป มักทำให้คนเราไม่ค่อยลงมือทำจริงๆ จัง แต่ถ้ามันมีหลายอย่างที่คุณอยากเก็บเงินเพื่อพวกมันล่ะ (รถใหม่ เงินทุนสำหรับกรณีฉุกเฉิน เงินค่าเรียนของลูกๆ) ลองเอามันมารวมกันเป็นเป้าหมายเดียว เช่น ออมเงินเพื่อครอบครัว

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *