สัญญาณร่างกาย
0 0
Read Time:9 Minute, 14 Second

สัญญาณร่างกายหลายอย่าง อาจดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ แต่จริงๆ แล้ว มันอาจเกิดมาจากปัญหาของต่อมไทรอยด์ก็เป็นได้ มาดูกันว่าสัญญาณพวกนั้นคืออะไรบ้าง เพื่อที่คุณจะได้เตรียมรับมือถูก

ขอแนะนำให้รู้จัก..ไทรอยด์

สัญญาณร่างกาย

ไทรอยด์…ต่อมรูปผีเสื้อในคอของเรา สามารถมีผลกระทบอย่างไม่น่าเชื่อต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นผู้หญิงที่อายุมากกว่า 35 ปี ก็เสี่ยงที่จะมีอาการไทรอยด์ผิดปกติสูงมากกว่า 30% จากปกติ และผู้หญิงก็มีโอกาสมากกว่าผู้ชายถึง 10 เท่า ที่จะมีปัญหาเรื่องไทรอยด์

ไทรอยด์ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งควบคุมสิ่งอื่นๆ เช่น อุณหภูมิของร่างกาย ระบบเผาผลาญและการเต้นของหัวใจ สิ่งต่างๆ จะเริ่มทำงานผิดปกติเมื่อไทรอยด์ทำงานน้อยหรือมากเกินไป ถ้ามันทำงานน้อยลง ก็จะผลิตฮอร์โมนออกมาน้อยเกินไป แต่ถ้าทำงานมากก็จะผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป

แต่อะไรคือสาเหตุที่ไทรอยด์ทำงานผิดปกติล่ะ?  อาจจะเป็นกรรมพันธุ์ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง การตั้งครรภ์ ความเครียด การขาดสารอาหาร หรือสารพิษในสภาวะแวดล้อม แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ไม่มั่นใจว่าเพราะอะไร เพราะฮอร์โมนไทรอยด์มีอยู่ทั่วไปในร่างกายตั้งแต่สมองไปจนถึงลำไส้  การวินิจฉัยความผิดปกติจึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย นี่คือ 19 สัญญาณที่อาจบอกได้ว่าไทรอยด์ของคุณกำลังผิดปกติ

สัญญาณร่างกายที่ฟ้องความผิดปกติของต่อมไทรอยด์

1 เหนื่อยและไม่มีแรง

สัญญาณร่างกาย

นี่อาจเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่มีความเชื่อมโยงอย่างมากกับภาวะขาดไทรอยด์ ความผิดปกติที่เป็นผลมาจากฮอร์โมนไทรอยด์น้อยเกินไป ถ้าคุณเหนื่อยในตอนเช้าหรือทั้งวันหลังจากนอนมาทั้งคืน นั่นเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าไทรอยด์ของคุณอาจจะทำงานน้อยเกินไป การมีฮอร์โมนไทรอยด์น้อยเกินไปในกระแสเลือดและเซลล์ จะทำให้กล้ามเนื้อไม่ได้รับสัญญาณให้ตื่นตัว

2 รู้สึกซึมเศร้า

สัญญาณร่างกาย

การรู้สึกซึมเศร้าหรือเสียใจผิดปกติ ก็อาจจะเป็นสัญญาณร่างกาย ที่บอกถึงอาการของภาวะไทรอยด์บกพร่องได้  ทำไมน่ะหรือ? เชื่อกันว่าการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่น้อยเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อระดับของเซโรโทนิน “ฮอร์โมนรู้สึกดี” ในสมองได้ และด้วยการทำงานที่น้อยเกินไปของไทรอยด์จะเปลี่ยนระบบอื่นของร่างกายไปเป็นระดับ “ต่ำ”  จึงไม่น่าประหลาดใจที่อารมณ์ของคุณก็จะแย่ลงด้วย

3 กระวนกระวายใจและวิตกกังวล

สัญญาณร่างกาย

การวิตกกังวลและ “การรู้สึกสับสน” เป็นผลมาจากภาวะไทรอยด์บกพร่อง นั่นคือต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป จึงเป็นข้อความให้ “ทุกระบบทำงาน” จนระบบเผาผลาญและร่างกายทุกส่วนอาจจะทำงานมากเกินไป ถ้าคุณรู้สึกเหมือนคุณไม่สามารถผ่อนคลายได้ ไทรอยด์ของคุณอาจจะ “ทำงานมากเกินไป” ก็ได้

NO! NO!

หมอแนะนำว่าผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์ทำงานผิดปกตินั้นควรงดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่จะทำให้อาการทางตารุนแรงมากขึ้น รวมทั้งงดการดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มบำรุงกำลังหรือคาเฟอีน เพราะอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้น ควรงดออกกำลังกายหนักในช่วงแรกของการรักษา

4 ความยากอาหารหรือการรับรสชาติเปลี่ยนไป

สัญญาณร่างกาย

ความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้น อาจเป็นสัญญาณของภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไป เมื่อฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป อาจจะทำให้คุณรู้สึกหิวตลอดเวลา แต่ส่วนที่ “มากเกินไป” ของความผิดปกตินี้มักจะทำให้มีความต้องการพลังงานมากขึ้นด้วย จึงมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ดังนั้น ผลสุดท้ายจึงไม่ใช่การได้น้ำหนักเพิ่ม แต่ถ้าไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป อาจทำให้คุณสับสนในเรื่องความรู้สึกของรสชาติและกลิ่นได้

5 สมองมึนงง

สัญญาณร่างกาย

แน่นอน มันอาจจะเกิดจากการนอนไม่พอหรืออายุที่มากขึ้น แต่ระบบการรับรู้ก็อาจจะมีปัญหาได้ ถ้าไทรอยด์ของคุณผิดปกติ ฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไป (ไทรอยด์ทำงานมากเกินไป) ทำให้ยากที่จะตั้งสมาธิ และถ้าน้อยเกินไป (ไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป) อาจทำให้เกิดการหลงๆ ลืมๆ และสมองไม่สดใส ผู้หญิงหลายคนคิดว่ามันเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับการหมดประจำเดือน แต่จริงๆ แล้วมันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาเรื่องไทรอยด์ก็ได้

6 หมดความสนใจทางเพศ

สัญญาณร่างกาย

มีความต้องการทางเพศน้อยลงหรือไม่มีเลย อาจจะเป็นผลข้างเคียงจากความผิดปกติของไทรอยด์ ฮอร์โมนไทรอยด์ที่น้อยเกินไปอาจทำให้ความต้องการทางเพศลดลง แต่ผลกระทบด้านอื่นๆ ของอาการไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป คือ น้ำหนักเพิ่ม ไม่มีแรง และเจ็บปวดตามร่างกายก็อาจจะมีได้ด้วย

7 ใจสั่น

สัญญาณร่างกาย

มันเป็นอาการที่รู้สึกเหมือนหัวใจกำลังสั่นจริงๆ หรือเหมือนกับจะหยุดไปหนึ่งหรือสองครั้ง หรือไม่ก็เต้นแรงหรือเร็วเกินไป คุณอาจจะสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ในหน้าอกหรือที่จุดชีพจรตรงคอ อาการสั่นของหัวใจเช่นนี้อาจเป็นสัญญาณของการมีฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปในระบบร่างกาย (ไฮเปอร์ไทรอยด์)

ต่อมไทรอยด์อักเสบ VS ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ

ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบจะมีอาการไทรอยด์เป็นพิษเพียงชั่วคราว จึงไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านฮอร์โมน การรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการ ได้แก่ การรับประทานยาลดอาการใจสั่น กรณีที่มีใจสั่น มือสั่น หรือยาลดอาการปวดถ้ามีอาการปวดบริเวณต่อมไทรอยด์เท่านั้น

8 ผิวแห้ง

สัญญาณร่างกาย

ผิวที่แห้งและคันอาจเป็นอาการของไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป การเปลี่ยนแปลงในลักษณะของผิวอาจจะเกิดมาจากระบบเผาผลาญที่ช้าลง (เกิดจากการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์น้อยเกินไป) ซึ่งจะลดปริมาณเหงื่อลง ผิวที่ไม่มีความชื้นเพียงพอจะแห้งและแตกอย่างรวดเร็ว เล็บก็อาจจะหักหรือแตกเป็นขุยขึ้นได้

9 ลำไส้ทำงานผิดปกติ

สัญญาณร่างกาย

คนที่มีอาการไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปบางครั้งจะบ่นว่าท้องผูก การผลิตฮอร์โมนที่ถูกรบกวนมักจะทำให้กระบวนการย่อยช้าลง ทำให้เหมือนลำไส้ไม่มีอาการเคลื่อนไหว ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในสามอาการที่ธรรมดาที่สุดของการที่ไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปที่รู้จักกัน แต่ในทางตรงกันข้าม ต่อมไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินไป จะทำให้ท้องเสียหรือมีการเคลื่อนไหวของลำไส้บ่อยมากขึ้น

10 ประจำเดือนเปลี่ยนแปลง

สัญญาณร่างกาย

ระยะเวลาในการมีประจำเดือนที่นานขึ้น มีเลือดออกมามาก และปวดท้องมากขึ้น อาจเป็นสัญญาณร่างกายที่บอกว่า ไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป ที่ทำให้ฮอร์โมนไทรอยด์จะมีไม่เพียงพอ และทำให้ระยะเวลาของการมีประจำเดือนห่างกันน้อยลง ขณะที่อาการไทรอยด์ทำงานมากไป (ไฮเปอร์ไทรอยด์) และระดับฮฮร์โมนไทรอยด์สูงขึ้น จะทำให้การมีประจำเดือนผิดปกติในแบบที่ต่างกัน เช่น ระยะเวลาอาจจะสั้นลง ห่างกันนานขึ้น และประจำเดือนอาจจะมาน้อยมาก แพทย์พบความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างการมีประจำเดือนที่ผิดปกติกับปัญหาไทรอยด์ และถ้าประจำเดือนมามากเป็นพิเศษ คุณอาจต้องตรวจหาภาวะโลหิตจาง (Anemia) ด้วย

11 ปวดแขนขาหรือกล้ามเนื้อ

สัญญาณร่างกาย

บางครั้งคุณอาจจะไปเดินสะดุดอะไรสักอย่าง หรือไม่ก็ทำงานหนักเกินไป อาการปวดแบบนั้นสามารถอธิบายได้ แต่ถ้าคุณมีการเป็นเหน็บหรือการชาอย่างไม่ทราบสาเหตุ หรือกะทันหัน หรือปวดอย่างมากที่แขน ขา เท้า หรือมือ นั่นอาจเป็นสัญญาณของไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปก็ได้ เพราะการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาน้อยเกินไป จะสร้างความเสียหายให้แก่ระบบประสาท ที่ส่งสัญญาณจากสมองและไขสันหลังไปทั่วร่างกาย ผลก็คือการเป็นเหน็บ และการปวดอย่างเฉียบพลันและรุนแรง ที่อธิบายไม่ได้เหล่านั้น

12 ความดันโลหิตสูง

สัญญาณร่างกาย

ความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นอาการของไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบทำงานมากเกินไปและน้อยเกินไป จากการประมาณการ คนที่เป็นไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปมีความเสี่ยงสองถึงสามเท่าในการเกิดความดันโลหิตสูง ทฤษฎีคือเมื่อฮอร์โมนไทรอยด์มีปริมาณน้อย จะทำให้หัวใจเต้นช้าลง ซึ่งเป็นผลให้การสูบฉีดแรงขึ้นและผนังหลอดเลือดก็ขยายตัว จนอาจทำให้ความดันเลือดสูงขึ้นได้

13 รู้สึกหนาวเกินไปไม่ก็ร้อนเกินไป

สัญญาณร่างกาย

การรู้สึกเย็นไปจนถึงหนาวสั่นเป็นผลมาจากไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป การที่ระบบช้าลงซึ่งเป็นผลมาจากไทรอยด์ทำงานน้อยลง ทำให้เซลล์เผาผลาญพลังงานน้อยลง และพลังงานน้อยลงก็เท่ากับความร้อนในร่างกายที่น้อยลง และในทางตรงกันข้าม ไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินไป ก็ทำให้เซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างพลังงานทำงานมากขึ้น ทำให้คนที่เป็นโรคไฮเปอร์ไทยรอยด์มักจะรู้สึกร้อนหรือเหงื่อออกง่ายมาก

14 เสียงแหบหรือระคายคอ

สัญญาณร่างกาย

การเปลี่ยนแปลงของเสียง หรือการมีก้อนในลำคออาจเป็นสัญญาณของไทรอยด์ผิดปรกติ วิธีหนึ่งที่จะตรวจสอบก็คือ สังเกตตรงคอของคุณให้ละเอียด ถ้าคุณพบสัญญาณใดๆ ของการบวมของไทรอยด์ คุณสามารถทำการตรวจไทรอยด์ของคุณทางกายภาพได้เองที่บ้านด้วยคำแนะนำจาก American Association of Clinical Endocrinologists (สมาคมนักต่อมไร้ท่อวิทยาแห่งอเมริกา) ดังต่อไปนี้คือ

ใช้กระจกมือถือสองที่คอขณะที่คุณกลืนน้ำ มองหาการนูนหรือการยื่นออกมาบริเวณต่อมไทรอยด์ ซึ่งตั้งอยู่ข้างล่างลูกกระเดือกแต่อยู่เหนือกระดูกไหปลาร้า คุณอาจจะต้องพยายามหลายครั้งกว่าจะรู้ว่าตำแหน่งของไทรอยด์จริงๆ อยู่ที่ไหน ถ้าคุณเห็นอะไรที่เป็นก้อนหรือน่าสงสัย ควรไปพบหมอ

15 การนอนเปลี่ยนไป

สัญญาณร่างกาย

ต้องการนอนตลอดเวลาใช่มั้ย? อาจจะเป็นเพราะไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป ไทรอยด์ที่ทำงานน้อยจะทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายช้าลง จนทำให้รู้สึกว่าการนอน (แม้แต่ตอนกลางวัน) กลายเป็นความคิดที่ดี

แต่ถ้าไม่สามารถนอนได้ ก็อาจจะเป็นเพราะไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดความวิตกกังวลและชีพจรเต้นเร็ว ทำให้ยากที่จะนอนหลับหรืออาจจะตื่นในตอนกลางคืน

16 น้ำหนักเพิ่ม

สัญญาณร่างกาย

การที่ต้องเพิ่มขนาดเสื้อผ้าอาจจะเป็นผลได้มาจากหลายสิ่ง หมอของคุณจึงมักไม่ได้มองว่าการเพิ่มของน้ำหนักเพียงอย่างเดียวจะเป็นอาการผิดปรกติของไทรอยด์ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มของน้ำหนักเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ผู้หญิงแสดงออกมาในการตรวจไทรอยด์ ถ้าพวกเธอไม่ได้กินอะไรมากไปกว่าปกติ แต่น้ำหนักก็เพิ่ม และถึงจะออกกำลังกาย แต่พวกเธอก็ลดน้ำหนักไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่มันมักจะเกิดจากไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป

17 ผมบางและร่วง

สัญญาณร่างกาย

ผมที่แห้งและเปราะจนขาดร่วงอาจเป็นสัญญาณของไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป ฮอร์โมนไทรอยด์ที่น้อยเกินไป จะรบกวนวงจรการเติบโตของผม และทำให้รากผมจำนวนมากเข้าสู่ภาวะของการ “พัก” ส่งผลให้ผมร่วง ซึ่งบางครั้งรวมถึงขนในส่วนอื่นของร่างกายอย่างเช่นคิ้วที่มักจะบางลงในช่วงหางคิ้ว     

ส่วนการที่ไทรอยด์ทำงานมากเกินไปก็มีผลต่อเส้นผมได้เช่นกัน แต่โดยปกติแล้วปัญหาเกี่ยวกับผมที่มาจากไทรอยด์ทำงานมากเกินไป จะมีผลทำให้เส้นผมบนศีรษะเท่านั้นที่บางลง

18 มีปัญหาในการตั้งครรภ์

สัญญาณร่างกาย

ถ้าคุณกำลังพยายามมีลูกมาระยะเวลาหนึ่งแต่ไม่มีโชค การที่ไทรอยด์ทำงานน้อยหรือมากเกินไปอาจเป็นสาเหตุก็ได้ ความยากในการตั้งครรภ์มักถูกเชื่อมโยงกับปัญหาไทรอยด์ผิดปกติ เพราะทั้งไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปและมากเกินไปสามารถรบกวนการตกไข่ได้ ทำให้ไม่เกิดการปฏิสนธิ  ความผิดปรกติของไทรอยด์ยังเชื่อมโยงกับปัญหาที่เกดิขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์อีกด้วย

19 คอเรสเตอรอลสูง

สัญญาณร่างกาย

ระดับของคอเรสเตอรอล LDL (ไขมันที่ไม่ดี) ที่สูงเกินไป และไม่ตอบสนองต่อการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย หรือการใช้ยา มักสัมพันธ์กับการที่ไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป และอาการไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปที่ไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่ปัญหาหัวใจได้ เช่น โรคหัวใจโตและหัวใจล้มเหลว

ทำยังไงดีล่ะทีนี้?

สัญญาณร่างกาย

ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้หนึ่งอย่างหรือมากกว่า และสงสัยไทรอยด์ของคุณ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย โดยวิธีรักษาที่ใช้กันก็คือ

กินยาเพื่อการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งมักต้องกินยาต่อเนื่องประมาณ 24-36 เดือน วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยอายุน้อยและเป็นโรคมาไม่นาน หรือผู้ที่มีข้อห้ามในการผ่าตัด เช่น มีโรคประจำตัวหลายโรค

การกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน เหมาะกับผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ผู้ป่วยที่กลับมาเป็นซ้ำหลังรับประทานยาครบตามกำหนด ผู้ป่วยที่แพ้ยาต้านไทรอยด์แบบรุนแรง

การผ่าตัด เหมาะกับผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตมาก มีการกดเบียดอวัยวะข้างเคียงของต่อมไทรอยด์ ทำให้กลืนลำบาก หายใจลำบาก หรือผู้ป่วยที่สงสัยอาจมีมะเร็งต่อมไทรอยด์ร่วมด้วย

โรคไทรอยด์เป็นพิษสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์เพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยาหรือปรับขนาดยาเอง เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยา และทำให้รักษาหายยากขึ้น ในกรณีที่รักษาหายขาดแล้ว ควรมีการติดตามระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากอาจมีโอกาสกลับเป็นซ้ำ หรือเกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำได้

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *