ออกจากงาน
0 0
Read Time:3 Minute, 33 Second

ออกจากงาน ไม่ว่าจะเพราะถูกบีบให้ลาออก หรือลาออกเอง เมื่อไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากโบกมือลา นี่เป็นข้อมูลที่คุณควรพิจารณา

ในเวลาที่คุณมีปัญหาในที่ทำงาน และไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ นี่อาจเป็นสิ่งที่คุณต้องเผชิญแทนการถูกไล่ออก แล้วคุณจะทำอะไรได้บ้างล่ะ? ลาออกเองดีกว่า หรือรอจนกว่าจะถูกไล่ออกดี? เพราะฉะนั้นเมื่อคุณถูกขอให้ลาออก คุณไม่จำเป็นต้องตอบสนองในทันที ขอเวลาเพื่อพิจารณาทางเลือก ก่อนที่คุณจะตัดสินใจ และต่อไปนี้คือข้อมูลที่คุณต้องพิจารณา

1 รู้สิทธิ์ของคุณก่อน

ถ้าการที่คุณถูกกำจัด เนื่องมาจากความผิดในลักษณะที่แจ้งชัด บริษัทไม่ต้องจ่ายเงินใดๆ ให้คุณในการให้ออกจากการทำงาน ยกเว้นเงินช่วยเหลือทางด้านสวัสดิการบางอย่าง เช่น เงินสะสมในส่วนที่เป็นของคุณเอง แต่ถ้าเป็นการให้ออกจากการทำงาน โดยความผิดไม่ปรากฏแจ้งชัด คุณก็มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย (อายุงานต่ำกว่า 1 ปี เงินชดเชย 1 เดือน อายุงาน 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี เงินชดเชย 3 เดือน อายุงานเกิน 3 ปีขึ้นไป เงินชดเชย 6 เดือน) 

หากคุณไม่อยากได้เงิน แต่อยากทำงานต่อ คุณก็มีสิทธิ์ขอความเป็นธรรมจากศาลแรงงาน โดยขอให้ศาลสั่งให้บริษัทรับคุณกลับเข้าทำงานตามเดิม แต่ศาลจะสั่งหรือไม่นั้น ศาลก็ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ด้วย

2 ถ้าถูกบีบให้ลาออก ต้องรู้จักต่อรอง 

ถ้าคุณถูกบีบให้ลาออกจากงาน คุณควรต้องถามเหตุผลก่อน ถ้าเหตุผลฟังดูไม่เข้าท่า คุณก็ต้องดูต่อไปว่า เขาจ่ายอะไรให้คุณบ้างในการให้คุณออกจากงาน โดยศึกษาดูว่า บริษัทมีระเบียบข้อบังคับกำหนดไว้อย่างไร ในเรื่องการให้พนักงานออกจากการทำงาน กำหนดการจ่ายเงินค่าชดเชยอย่างไร มีสวัสดิการอะไรบ้าง ที่คุณควรจะต้องมีสิทธิ์ และดูว่าเขาทำถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบข้อบังคับของบริษัท และข้อกำหนดของกฎหมายหรือไม่ แต่ถ้าไม่ได้เป็นไปตามครรลองของกฎหมาย คุณอาจจะไปขอศาลแรงงานเป็นที่พึ่งได้

ออกจากงาน

3 เงินชดเชยการว่างงาน 

คุณสามารถรับเงินชดเชยการว่างงานจากรัฐได้ ไม่ว่าจะถูกไล่ออกหรือลาออก ถ้าคุณจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย ต่างกันแค่เงินชดเชยที่คุณจะได้รับ นั่นคือในกรณีถูกเลิกจ้าง คุณจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท 

ตัวอย่างเช่น  ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท ส่วนการลาออก คุณจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่นคุณมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท

4 การอ้างอิงประวัติการทำงาน 

มันอาจเป็นประเด็นสำคัญในกรณีที่คุณถูกไล่ออก บริษัทจะให้ข้อมูลคุณอย่างไรกับว่าที่นายจ้างของคุณ ซึ่งต้องมาเช็คประวัติการทำงานของคุณ ถ้าบริษัทจะไม่ให้การรับรองไม่ดี พวกเขาจะไม่ให้เลยดีกว่ามั้ย? คุณควรหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นในการต่อรองกันด้วย เช่น ให้บริษัทจดหมายแค่ยืนยันว่าเคยทำงานที่นี่ ตำแหน่ง และเงินเดือน โดยไม่เอ่ยถึงสถานการณ์ที่ทำให้มีการลาออกหรือไล่ออกเกิดขึ้น

ในระหว่างการสัมภาษณ์งานใหม่ ก่อนจะบอกว่าทำไมคุณถึงลาออก ให้แน่ใจว่าคำตอบของคุณตรงกับสิ่งที่นายจ้างเก่าจะพูด มันจะเป็นเหมือนสัญญาณอันตรายในการจ้างงานเลย ถ้าสิ่งที่คุณพูด ไม่ตรงกับสิ่งที่บริษัทพูด

5 ท้ายสุด..อย่ารู้สึกไม่ดี 

ในหลายกรณี มันมักไม่มีอะไรที่คุณจะทำได้เพื่อเปลี่ยนแปลงสถานการณ์นี้ ลูกจ้างถูกบีบให้ลาออกหรือไล่ออกทุกวัน และเมื่อบริษัทตัดสินใจแล้วว่าคุณต้องไป คุณก็คงทำอะไรไม่ได้เพื่อเปลี่ยนใจพวกเขา ลองเปลี่ยนไปมองหาโอกาสในการย้ายงาน และเริ่มต้นใหม่กับงานที่เหมาะกับคุณจริงๆ ดีกว่า

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *