อาการปวดของร่างกาย
1 0
Read Time:4 Minute, 54 Second

ทั้งการเลื่อนดูหน้าจอ การส่งข้อความ และการปัดหน้าจอสมาร์ทโฟน ทุกอย่างอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดของร่างกายได้ทั้งสิ้น

หาคุณมีอาการปวดของร่างกายแบบแปลกๆ ที่ข้อศอก หรือเริ่มรู้สึกปวดเมื่อยคอ มันอาจเป็นความผิดของมือถือคุณก็ได้นะ ผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัดชี้ว่า ร่างกายของเราไม่ได้ออกแบบมาเพื่อที่จะถือสมาร์ทโฟนและนั่งก้มหน้าก้มตาอยู่กับมันตลอดทั้งวัน ดังนั้น หากคุณใช้สมาร์ทโฟนเป็นประจำวันละหลายๆ ชั่วโมง ร่างกายก็ย่อม “ประท้วง” คุณ ด้วยอาการเจ็บปวดบางอย่าง ที่คุณอาจไม่ได้เอะใจว่าเกิดมาจากสมาร์ทโฟน เพราะฉะนั้นมาลองสำรวจดูว่า สมาร์ทโฟนสามารถทำร้ายสุขภาพร่างกายเราได้อย่างไรบ้าง และวิธีการที่จะแก้ไขอาการเหล่านั้น

อาการปวดของร่างกายที่เกิดจากการใช้สมาร์ทโฟน

1 อาการปวด: นิ้วโป้ง

อาการปวดของร่างกาย

นานมาแล้ว สมัยที่สมาร์ทโฟนเริ่มเฟื่องฟู และการส่งข้อความคุยกันด้วย “แบล็คเบอร์รี่” อาการที่เรียกกันว่า ‘BlackBerry thumb’ ก็เป็นหนึ่งในประเด็นฮอตในสมัยน้น เนื่องมาจากการกดแป้นพิมพ์รัวๆ ทำให้เกิดแรงกดต่อนิ้วโป้งของเราซ้ำๆ จนเกิดอาการเจ็บปวดได้ เดี๋ยวนี้ คนอาจลืมเลือนแบล็คเบอร์รี่กันไปแทบจะหมดแล้ว และถึงแม่สมาร์ทโฟนยุคใหม่จะเปลี่ยนมาเป็นจอแบบสัมผัส ซึ่งใช้แรงกดน้อยกว่าการกดแป้นพิมพ์ แต่นิ้วโป้งก็ยังเป็นอวัยวะของร่างกายที่ยังคงต้องรับหน้าที่ในการกดแป้นพิมพ์บนจอ และเกิดแรงกดดันเนื่องมาจากการใช้งานมากเกินไปอยู่เช่นเดิม ทั้งการส่งข้อความและการไถหน้าจอมือถือ

แก้ไข: การพยายามที่จะใช้นิ้วต่างๆ สลับกันไปมา อย่าใช้นิ้วโป้งเป็นหลัก เป็นวิธีเดียวที่จะช่วยคุณได้ และหาคุณรู้สึกปวดนิ้วโป้งมากและเป็นอย่างต่อเนื่อง ก็ควรต้องไปพบหมด ที่อาจแนะนำให้คุณใช้ที่ดามนิ้วหรืออุปกรณ์พยุงนิ้ว (thumb splint) เพื่อช่วยประคับประคองนิ้วและบรรเทาความเจ็บปวด

2 อาการปวด: คอ

อาการปวดของร่างกาย

ท่าที่เรามักใช้ในการส่งข้อความนั้น ส่วนใหญ่แล้วมักไม่ใช่ท่าทางที่เหมาะสม และอาการปวดคอของหลายคนก็อาจเกิดมาจากท่าที่ทำเป็นประจำจากการส่งข้อความในมือถือนั่นเอง โดย นพ.เคนเน็ธ ฮันสราช ศัลยแพทย์ด้านกระดูกในนิวยอร์ก สหรัฐฯ ระบุว่า มีคนไข้จำนวนมากที่มีอาการปวดคอเนื่องมาจากการวางท่าทางที่ไม่เหมาะสม และการใช้สมาร์ทโฟนก็เป็นหนึ่งในปัจจัยนั้น โดยในการศึกษาชิ้นหนึ่งคุณหมอเคนเน็ธพบว่า การก้มลงมองมือถือนั้นทำให้เกิดแรงกดต่อกระดูกสันหลังราว 60 ปอนด์ ขณะที่การยืนตัวตรงนั้น มีแรงกดต่อกระดูกสันหลังราว 12 ปอนด์ และเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ คุณก็จะเกิดปวดที่ต้นคอ และกล้ามเนื้อของคุณก็จอาจเริ่มมีอาการกระตุก จนในท้ายที่สุดอาจถึงกับทำให้กระดูกของคุณเริ่มผิดรูปได้ คุณหมอเคนเน็ธบอกเช่นนั้น

แก้ไข: แทนที่จะก้มศีรษะลง ให้พยายามตั้งศีรษะให้ตรงเอาไว้ และยกมือถือขึ้นมาให้สูงขึ้นแทน โดยคุณหมอให้เคล็ดลับเพิ่มเติมว่า “บางคนอาจลืมไปว่าเราสามารถกรอกตาได้ และเราก็สามารถใช้การเหลือบตาลงมองหน้าจอมือถือโดยไม่ต้องก้มหัวลงมาก็ได้”

3 อาการปวด: ข้อศอก

อาการปวดของร่างกาย

การงอข้อศอกอยู่ตลอดเวลา อย่างเช่นเวลาที่คุณถือมือถือเอาไว้ อาจทำให้เกิดแรงกดต่อเส้นประสาทที่วิ่งผ่านข้อต่อของข้อศอก ทำให้เกิดอาการปวดและชาที่สามารถแล่นจากข้อศอกไปที่มือได้ นอกจากนี้คนจำนวนมากยังมักงอข้อมือเอาไว้ในท่าเดียวในขณะพิมพ์ข้อความ ซึ่งเพิ่มแรงกดเป็นพิเศษให้กับกล้ามเนื้อปลายแขน การทำให้กล้ามเนื้อเหล่านั้นเกิดความตึงสามารถทำให้เกิดความเจ็บปวดได้ทั้งข้อศอกและข้อมือ แบบเดียวกับความเจ็บปวดที่เกิดจากการออกกำลังกายด้วยการเล่นกอล์ฟหรือเทนนิส (tennis/golf elbow)

แก้ไข: เปลี่ยนท่าทางบ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาที่คุณอาจเนื้อหาบนหน้าจอมือถือ ที่ทำให้คุณต้องถือโทรศัพท์เอาไว้เป็นเวลานานๆ หรือใช้ที่ตั้งโทรศัพท์ หากต้องการอ่านอะไรนานๆ จากหน้าจอมือถือ

4 อาการปวด: หลัง

อาการปวดของร่างกาย

ไม่ใช่แค่เพียงศีรษะของคุณที่ก้มลงเมื่อคุณมองมือถือ เพราะเมื่อคุณก้มหัวและเอนไหล่ไปข้างหน้า ทำให้กล้ามเนื้อด้านหน้าลำตัวมีความตึงมากขึ้น ขณะที่กล้ามเนื้อด้านหลังจะอ่อนแอลง ดังนั้น จึงทำให้เกิดความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ ผลก็คือทำให้เกิดอาการปวดตึงที่หลัง

แก้ไข: คุณหมอเคนเน็ธบอกว่า คนส่วนใหญ่มักจะนอกจนกระทั่งตัวเองเกิดอาการเจ็บปวดแล้วถึงจะเปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่ควรทำก็คือ อย่ารอให้เกิดอาการเจ็บปวด พยายามใส่ใจกับท่าทางของตัวเองตลอดเวลา ยืนตัวตรง ให้ไหล่แอ่นไปด้านหลังเล็กน้อย และพยายามที่จะไม่งอหลัง นอกจากนี้ควรออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อหลัง และลองทำโยคะหรือกายบริหารแบบง่ายๆ เพื่อยืดกล้ามเนื้อหลัง และช่วยเพิ่มความยิดหยุ่นให้กระดูกสันหลังด้วย 

หนึ่งในท่าบริหารที่ช่วยยืดกล้ามเนื้อหลังได้ดีก็คือ นอนคว่ำและค่อยๆ ใช้แขนดันยกลำตัวส่วนบนขึ้นจากพื้นอย่างช้าๆ และไม่สร้างแรงกดดันให้กล้ามเนื้อมากจนเกินไป การยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่มากไป อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ และส่งผลให้เกิดปวดหลังมากขึ้นอีกได้

5 อาการปวด: ข้อมือ

อาการปวดของร่างกาย

มีศัพท์ที่เรียกอาการเจ็บปวดข้อมือเนื่องจากการใช้สมาร์ทโฟนว่า text claw ซึ่งไม่ใช่ศัพท์ที่เป็นทางการทางการแพทย์ แต่เป็นศัพท์ที่มีวงการเทคโนโลยีมักใช้กันเพื่ออธิบายถึงอาการปวดที่เกิดขึ้น เนื่องมาจากข้อมืออยู่ในท่าเดิมๆ จากการส่งข้อความเป็นระยะเวลานานๆ ซึ่งทำให้เกิดแรงกดต่อเส้นเอ็นและข้อต่อในข้อมือเรื่อยไปจนถึงข้อศอก และหากปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาจทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า Carpal Tunnel Syndrome หรือกลุ่มอาการเส้นประสาทกดทับบริเวณมือได้

แก้ไข: อย่างแรก พยายามเปลี่ยนสลับมือบ่อยๆ เวลาที่ใช้มือถือ ซึ่งช่วยได้ทั้งข้อมือและข้อศอกของคุณ และพยายามอย่าใช้นิ้วเดียวในการพิมพ์ข้อความ สับมาใช้นิ้วอื่นในการพิมพ์ข้อความ นอกจากนี้ก็ลองใช้ “ตัวช่วย” ทั้่งหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้คำสั่งเสียงในการพิมพ์ข้อความแทน หรือใช้ปากกาสไตลัสในการเขียนข้อความ และแทนการมือมือถือเอาไว้ในมือตลอดเวลา ก็หาที่ตั้งโทรศัพท์มาใช้บ้าง เพื่อลดระยะเวลาที่จะใช้มือในการกำมือถือเอาไว้ และหากเกิดอาการเจ็บปวดขึ้น ก็ควรพักการใช้งาน และสามารถใช้น้ำแข็งประคบเพื่อลดอาการเจ็บปวดได้ ถ้าอาการเจ็บปวดไม่ดีขึ้น ควรไปหาหมอ

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *