ท่าโยคะง่ายๆ
0 0
Read Time:3 Minute, 46 Second

รู้สึกเครียด ขี้เกียจ หรือนอนหลับไม่ค่อยดีงั้นหรือ? 5 ท่าโยคะง่ายๆ เหล่านี้สามารถช่วยฟื้นฟูร่างกายและจิตใจของคุณได้

การฝึกโยคะอย่างจริงจังอาจต้องการการชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็มีท่าโยคะง่ายๆ ที่คุณสามารถเรียนรู้ที่จะได้เอง และท่าโยคะพวกนี้สามารถช่วยแก้ปัญหาทางร่างกายและจิตใจบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกๆ วัน เพื่อให้ชีวิตของคุณดีขึ้น

ท่าโยคะง่ายๆ ที่จะช่วยให้ชีวิตดีขึ้น

ปัญหา: รู้สึกไม่สดชื่นตอนตื่นนอนงั้นหรือ

ท่าโยคะ: ท่ายืนก้มตัว (Uttanasana) เพื่อเปิดจิตใจและร่างกาย

ท่าโยคะง่ายๆ

วิธีที่ดีที่สุดเพื่อกระตุ้นร่างกายสำหรับการเคลื่อนไหวและทำให้ระบบประสาทสงบในแต่ละวันคือการยืนก้มหน้า ท่ายืนก้มตัว (Uttanasana) เป็นการยืดตัวที่ดีสำหรับทำเป็นอย่างแรกในตอนเช้า มันช่วยยืดกระดูกสันหลัง และช่วยเราให้จดจ่อกับร่างกายของเรา เป็นการสร้างการเชื่อมโยงระหว่างร่างกายและจิตใจที่ดีสำหรับการเริ่มต้นวันใหม่

วิธีทำ: ยืนแยกเท้าเล็กน้อย แล้วงอตัวก้มไปข้างหน้า เก็บคางไว้ที่หน้าอกและผ่อนคลายลำคอ ขึ้นอยู่กับความตึงของกล้ามเนื้อแฮมสตริงของคุณ เข่าอาจจะได้ทั้งงอและตรง แขนโอบรอบน่อง หรือจับข้อศอกไว้ เริ่มต้นอย่างช้าๆ และเริ่มแรกให้อยู่ในท่านี้ 30 วินาที

ปัญหา: มีปัญหากับการหลับหรือการนอนตอนกลางคืนงั้นหรือ

ลอง: ท่ายกขาพิงกำแพง (Viparita Karani) เพื่อกล่อมร่างกายให้เข้าสู่สภาวะการพักผ่อน

ท่าโยคะง่ายๆ

ถือเป็นท่าที่ยอดเยี่ยมมาก ที่ควรทำให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรก่อนนอนของคุณ การยกขาพิงกำแพง จะควบคุมการไหลของเลือดและบรรเทาความวิตกกังวล เป็นวิธีที่ดีในการทำให้หลับได้ง่ายและหลับลึกขึ้น เพราะมันจะทำให้ร่างกายและจิตใจสงบลง และทำให้ทุกอย่างช้าลง

วิธีทำ: นอนหงายให้ใกล้กำแพงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แล้วยกขาขึ้นเพื่อวางพิงกำแพง ค้างในท่านี้แล้วนับ 10 ถึง 15 หรือนานกว่าถ้าเป็นไปได้ การทำแบบนั้นไม่เพียงคุณจะขจัดความเครียดที่สะสมอยู่ในระบบร่างกาย แต่ยังทำให้ของเหลวที่คั่งค้างอยู่มีการไหลเวียน ซึ่งสมองและร่างกายจะต้องขอบคุณคุณ

ปัญหา: ตึงเครียดเพราะนั่งอยู่กับโต๊ะทั้งวันงั้นหรือ

ท่าโยคะ: ท่าพวงมาลา (Malasana) เพื่อบรรเทาความตึงของร่างกาย

ท่าโยคะง่ายๆ

ถ้าคุณทรมานจากความเมื่อยหลังจากการนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงานทั้งวัน ท่าพวงมาลาเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมเพื่อแก้ไขผลข้างเคียงใดๆ ที่คุณอาจจะเจอ นั่นเพราะการนั่งจะทำให้เราสูญเสียความแข็งแรงของขา และความยืดหยุ่นของน่องและสะโพก และส่วนล่างของหลังอาจจะปวด เพราะกล้ามเนื้อลำตัวล้าและเมื่อย 

ท่าพวงมาลาช่วยลดผลกระทบของความไม่สมดุลเหล่านี้ โดยทำให้มีการเคลื่อนไหวอย่างครบวงจร ซึ่งจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้แก่ขา และเปิดสะโพก และยังช่วยในการย่อย การกำจัดของเสีย และทำจิตใจให้แจ่มใส

วิธีทำ: วางเท้าราบกับพื้น แล้วย่อตัวลงไปเป็นท่านั่งยองๆ แยกต้นขาออกให้กว้างกว่าลำตัวเล็กน้อย เพื่อจะได้ทรงตัวได้ จากนั้น กดข้อศอกลงบนเข่าด้านใน และพนมมือที่หน้าอก ระยะเวลาที่ดีท่าสุดที่จะอยู่ในท่านี้คือ 30 วินาที

ปัญหา: หงุดหงิดเพราะติดแหง็กอยู่บนถนนใช่มั้ย

ท่าโยคะ: การหายใจแบบโยคะ (Pranayama) เพื่อสงบระบบประสาท

ท่าโยคะง่ายๆ

แทนที่จะทุบพวงมาลัยอย่างหงุดหงิดเมื่อต้องเจอกับรถติด ให้ตั้งสมาธิไปที่การหายใจ ซึ่งจะช่วยลดความดันเลือดและสงบประสาทที่ตึงเครียด ปราณยามะ (Pranayama) จะทำงานทันทีเพื่อผ่อนคลายร่างกาย ด้วยการลดการทำงานของประสาทอัตโนมัติในระบบประสาท ส่งเลือดที่เต็มไปด้วยออกซิเจนไปทั่วร่างกาย และสร้างสมดุลของระดับออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์

วิธีทำ: แค่ตั้งสมาธิไปที่การหายใจ คุณก็สามารถทำปราณยามะ (Pranayama) ได้แล้ว ไม่ต้องพยายามหายใจอย่างเป็นแบบแผน แค่สังเกตและรับรู้ในใจว่าคุณกำลังหายใจอยู่ โดยไม่ต้องไปบังคับมัน แม้แต่หายใจเข้าลึกๆ ลงไปในช่องท้อง แค่ 30 วินาทีต่อวัน ก็สามารถสร้างพลังงานให้ได้แล้ว และการหายใจออกช้าๆ เพื่อสลายความเครียด

ปัญหา: ต้องการแก้ท้องอืดและอาหารไม่ย่อยใช่มั้ย

ท่าโยคะ: การนั่งในท่าวีระ (Virasana) เพื่อบรรเทาความรู้สึกไม่สบายท้อง

ท่าโยคะง่ายๆ

ถ้าคุณรู้สึกไม่สบายหลังจากการกิน แก้ไขการท้องอืดหลังอาหารด้วยการนั่งในท่าวีระ ท่านี้มีประโยชน์หลายอย่าง ไม่เพียงแค่ยืดต้นขา หัวเข่า และข้อเท้า แต่ยังช่วยให้การย่อยอาหารดีขึ้น และลดแก๊ส เนื่องจากท่านี้เป็นการวางแรงกดเบาๆ ที่อวัยวะในการย่อย และหลังจากเปลี่ยนท่าแล้ว เลือดและออกซิเจนจะไหลไปบริเวณนั้น

วิธีทำ: เริ่มด้วยการคุกเข่า กดเข่าเข้าด้วยกัน และนั่งบนส้นเท้า เปิดหน้าอกและหลังตรง วางมือบนเข่า คว่ำหรือหงายทั้งสองมือ หลังอาหารให้ใช้เวลา 2 นาทีเพื่อนั่งในท่านี้

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *