โรคมะเร็ง
0 0
Read Time:6 Minute, 59 Second

อาการบางอย่างของโรคมะเร็งในตอนแรก อาจดูเหมือนเรื่องปกติและไม่ร้ายแรง แต่ก็มีสัญาณบางอย่างที่อาจส่อถึงมะเร็ง ที่คุณไม่ควรละเลย

โรคมะเร็ง เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของโลก เป็นสาเหตุการเสียชีวิตประมาณ 13% ของการเสียชีวิต และสำหรับบ้านเรา ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุว่า โดยเฉลี่ยมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ราว 120,000 คนต่อปี และมะเร็งยังคงเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของประเทศไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน

แต่ข่าวดีก็คือ อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งก็เพิ่มขึ้นด้วย ในออสเตรเลีย มีรายงานว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อัตราการรอดชีวิตจากมะเร็งเพิ่งขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และราว 66 เปอร์เซ็นต์ของคนที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง ยังมีชีวิตอยู่หลังจากนั้นอีก 5 ปี เช่นเดียวกับในสหรัฐฯ ที่การศึกษาล่าสุดของสมาคมแพทย์มะเร็งวิทยาสหรัฐฯ พบว่า ผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากมะเร็งมีกว่า 14 ล้าน 5 แสนคน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 19 ล้านคนในช่วงเวลา 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากมีวิทยาการในการรักษาที่ดียิ่งขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตยาวนานยิ่งขึ้น ทั้งคนที่ยังมีเนื้อร้ายและคนที่รักษาหายขาดแล้ว โดยปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ระยะเวลาของการตรวจพบเนื้อร้าย โดยผู้รอดชีวิตจำนวนมากถึง 2 ใน 3 ตรวจพบภายใน 5 ปี

การตรวจพบมะเร็งแต่เนิ่นๆ จึงนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่า มันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะรับรู้ถึงสัญญาณเตือนบางอย่าง ที่อาจส่อมะเร็งก็เป็นได้ ถึงแม้คุณไม่ควรวิตกจริตกับอาการทุกอย่าง แต่หากมีสัญญาณเหล่านี้หลายๆ ข้อ และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณก็ควรปรึกษาแพทย์ซะบ้างนะ

อะไรคือสัญญาณที่อาจส่อถึงโรคมะเร็งได้?

1 น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

โรคมะเร็ง

ถ้าคุณกินอาหารและออกกำลังกายปกติ แต่น้ำหนักลด ควรไปพบแพทย์ เนื่องจากการที่น้ำหนักลดโดยที่คุณไม่ได้ตั้งใจลดน้ำหนัก อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งกระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือตับอ่อนได้ คำอธิบายง่ายๆ จากผู้เชี่ยวชาญของสถาบันมะเร็งในออสเตรเลียก็คือ การเติบโตของมะเร็งจะดึงเอาสารอาหารไปจากร่างกายคุณ ทำให้ส่วนอื่นของร่างกายไม่ได้รับสารอาหารเหล่านั้น

นอกจากนี้ มะเร็งยังนำไปสู่การสร้างสารเคมีในร่างกายที่ไปรบกวนระบบย่อยอาหารและสมอง สารเคมีเหล่านี้บอกร่างกายคุณให้อิ่มเร็วกว่าปกติ คุณก็เลยกินน้อยลง

2 อาการไข้ขึ้นๆ ลงๆ

โรคมะเร็ง

การมีไข้ขึ้นสูงในช่วงบ่าย จากนั้นก็ลดลงแล้วสูงขึ้นอีก ถ้าตรวจไม่พบการติดเชื้อ มันก็อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองก็ได้ โดยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma) และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma) ซึ่งอย่างหลังเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดที่พบได้มากที่สุด (ในคนไทยพบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 8-9) โดยเหตุผลที่ทำให้เกิดอาการเช่นนี้ก็คือ วงจรการหมุนเวียนของเซลล์และฮอร์โมนในระหว่างวัน อาจมีบทบาทสำคัญในการทำให้มีอาการไข้ที่ขึ้นๆ ลงๆ ซึ่งตามปกติอาการไข้ทั่วไป จะสามารถควบคุมได้ค่อนข้างเร็ว แต่ไข้ชนิดนี้จะไม่ยอมหายไปง่ายๆ คุณจึงอาจกินยาแก้อักเสบไปแล้วจนครบคอร์สแล้ว แต่ก็ไม่ได้ผลอะไร เพราะฉะนั้นอาการไข้เป็นๆ หายๆ เช่นนี้ควรได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดเสมอ

3 แผลร้อนในในปากที่ไม่ยอมหาย

โรคมะเร็ง

เราสามารถเกิดแผลร้อนในในปากได้ ถ้าเรามีไข้ กัดปากตัวเอง หรือแม้แต่เครียด แต่ปกติแผลร้อนในพวกนี้จะหายไปในที่สุด แต่แผลร้อนใน รอยบวมแดง หรือเป็นตุ่มในปาก ที่ไม่หายในสองสัปดาห์ ควรได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด

โดย 80 เปอร์เซ็นต์ของมะเร็งในช่องปาก เกิดในคนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นก็อย่างเช่นการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักเป็นประจำ และไม่กินผักผลไม้มากพอ โดยคุณควรกินผักให้ได้ 5 ส่วน และผลไม้ 2 ส่วน ในแต่ละวัน และมีงานวิจัยที่ชี้ว่าการกินผักอย่างน้อยสัปดาห์ละ 8 ส่วน สามารถลดโอกาสในการเป็นมะเร็งในช่องปากลงได้ 50 เปอร์เซ็นต์

5 อันดับมะเร็งของชายไทย

1 มะเร็งตับและท่อน้ำดี

2 มะเร็งปอด

3 มะเร็งลำไส้ใหญ่

4 มะเร็งต่อมลูกหมาก

5 มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

4 อาการไอเรื้อรัง

โรคมะเร็ง

อาการไอที่ต่อเนื่องยาวนานกว่า 6 สัปดาห์ อาจเป็นอะไรมากกว่าโรคหวัด แต่อาจเป็นตัวบ่งชี้ของมะเร็งไทรอยด์ (ต่อมที่ตั้งอยู่สองข้างหลอมลม) หรืออาจหมายถึงมะเร็งปอดก็เป็นได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่

เหตุผลก็คือ ถ้าคุณมีอะไรก็ตามที่ขวางอยู่ในหลอดลม ปฏิกิริยาแรกของปอดก็คือพยายามกำจัดมันออกไปด้วยการไอ ฉะนั้น การไอเรื้อรังจึงอาจเชื่อมโยงกับการมีอะไรบางอย่างที่กดทับอยู่ในหลอดลม ฉะนั้น ถ้ามีอาการไอต่อเนื่องสองสามสัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุร้ายแรงที่อาจซ่อนอยู่

5 ก้อนที่รักแร้

โรคมะเร็ง

ไม่ใช่แต่ก้อนที่เต้านมเท่านั้นที่บ่งชี้ถึงมะเร็งเต้านม เซลล์มะเร็งในหน้าอกอาจกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในรักแร้ได้ด้วย ซึ่งผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่ไม่ใส่ใจกับก้อนที่เกิดขึ้นบริเวณรักแร้ เพราะพวกเธอไม่คิดว่ามันมีความสัมพันธ์ใดๆ กับเนื้อเยื่อที่หน้าอก ฉะนั้น อย่าลืมสังเกตเนื้อเยื่อบริเวณรักแร้ด้วย เพื่อที่คุณจะได้สังเกตเห็นก้อนเนื้อในบริเวณนี้ได้อย่างรวดเร็ว และจะได้ไปพบแพทย์เพื่อการตรวจสอบ อย่างไรก็ตามอย่าเพิ่งตื่นตกใจไป เพราะความเปลี่ยนแปลงนี้ส่วนใหญ่อาจไม่เกี่ยวกับมะเร็งก็ได้

6 หน้าอกข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้างหนึ่ง

โรคมะเร็ง

โดยธรรมชาติแล้ว ผู้หญิงเราจะมีหน้าอกสองข้างที่ใหญ่ไม่เท่ากันเล็กน้อย แต่ความเปลี่ยนแปลงอย่างปัจจุบันทันด่วนของขนาดหน้าอกจำเป็นต้องได้รับการตรวจเช็ค มันอาจเกิดมาจากซีสต์ในเต้านม ซึ่งทำให้หน้าอกขยายตัวขึ้นก็ได้ โดยผู้หญิงราว 60 เปอร์เซ็นต์มักเจอกับอาการแบบนี้ แต่ในบางกรณี อาการบวมที่ทำให้หน้าอกใหญ่ขึ้น อาจเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงมะเร็งเต้านมก็ได้ เนื่องจากอาการบวมปกติจะเกิดจากการทำงานมากเกินไปของเนื้อเยื่อในเต้านม

และก็เช่นเดียวกัน เต้านมที่หดเล็กลงแบบอธิบายไม่ได้ก็ควรต้องตรวจเช็คโดยแพทย์เช่นเดียวกัน

7 กลืนอาหารหรือกลืนน้ำลายลำบาก

โรคมะเร็ง

อาการเจ็บคอเรื้อรัง เสียงเปลี่ยน หรือกลืนลำบาก เป็นสิ่งที่ควรให้แพทย์ตรวจเช็ค โดยอาการกลืนลำบากอาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงมะเร็งที่หัวหรือคอ ซึ่งมักมีอาการอื่นร่วมด้วยอย่างเช่น เสียงแหบ ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น หรือมีอาการบวมหรือเจ็บที่คอ สาเหตุของมะเร็งชนิดนี้ส่วนใหญ่เกิดมาจากการสูบบุหรี่หรือดื่มหนัก

5 อันดับมะเร็งของหญิงไทย

1 มะเร็งเต้านม

2 มะเร็งปากมดลูก

3 มะเร็งตับและท่อน้ำดี

4 มะเร็งปอด

5 มะเร็งลำไส้ใหญ่

8 รู้สึกอิ่มหลังจากกินอาหารได้เล็กน้อย

โรคมะเร็ง

อาการนี้ร่วมด้วยอาการเจ็บปวดบริเวณท้องน้อย หน้าท้องบวม ท้องอืดบ่อยๆ และปวดฉี่บ่อยๆ อาจมีสาเหตุมาจากมะเร็งรังไข่ก็ได้ ซึ่งบ่อยครั้งผู้หญิงมักมองอาการเหล่านี้ว่าเกี่ยวข้องกับช่วงนั้นของเดือน หรือไม่ก็อาจถูกวินิจฉัยผิดเป็นอาการลำไส้แปรปรวน แต่ถ้าอาการเหล่านี้เป็นต่อเนืองไม่หายไปเสียที รวมถึงเริ่มรู้สึกแตกต่างไปจากที่คุณเคยเจอ ก็ควรไปตรวจร่างกายดู

9 เลือดออก

โรคมะเร็ง

การมีเลือดออกในช่วงระหว่างรอบเดือน หรือหลังจากอาการหมดประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งปากมดลูกก็ได้ การติดเชื้อ HPV (Human papillomavirus) บางชนิด และการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกได้

แต่การมีเลือดออกทางทวารหนัก อาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงมะเร็งลำไส้และทวารหนัก ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบในผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 5 ซึ่งการตรวจพบแต่เนิ่นๆ เป็นหัวใจสำคัญในการลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้และทวารหนัก

10 ความเปลี่ยนแปลงบนผิวหนัง

โรคมะเร็ง

มะเร็งผิวหนังปกติจะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของไฝหรือหูดบนร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในขนาด รูปร่าง หรือสีสัน แต่อาจไม่เหมือนกันทั้งหมดก็ได้ มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมาที่พบได้ทั่วไปมักทำให้มีการเปลี่ยนสีของผิว แต่มะเร็งโนม่าชนิดที่ร้ายแรงกว่า จะไม่มีความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของสีสัน แต่จะมีความเปลี่ยนแปลงในเรื่องรูปร่าง เช่น อาจนูนขึ้น

สังเกตดูว่าร่องรอยต่างๆ บนผิวหนังของตัวเอง อะไรที่เป็นปกติ และใส่ใจกับการเปลี่ยนแปลงบนผิวหนังเหล่านี้ โดยควรตรวจสอบผิวหนังทุกสามหรือสี่เดือน (ให้คนอื่นตรวจดูผิวที่ด้านหลัง) ถ้ามีไฝหรือหูดอะไรที่ผิดปกติน่าสงสัย มีอาการคัน หรือความรู้สึกไม่สบายบางอย่าง ควรปรึกษาแพทย์

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
100 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *